ช้าง (elephant)
ช้าง คือ สัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลักษณะเด่นคือ มีงวงหรือจมูกที่ยาว และ งาแหลม แต่บรรพบุรุษของช้างเหล่านี้ไม่ใช่แมมมอธที่ร่างสูงใหญ่ กลับมาจากเจ้าโมเออริเทอเรียมซึ่งมีขนาดเล็กกว่าช้างปัจจุบันมากไม่มีงวง มีแต่งา ช้างมีธรรมชาติบางอย่างไม่แตกต่างจากคนเช่น การหาว การกรน การรักและดูแลลูก และช้างก็เป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวของกับประวัติศาสตร์ไทยมานานมีความสำคัญและเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทยที่ควรศึกษา
1. วิวัฒนาการของช้าง
ช้างเป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุด บรรพบุรุษยุคแรกของช้างนั้นมีอายุประมาณ 50 ล้านปีมาแล้ว มีชื่อว่า โมเออริเทอเรียม (Moeritherium) ตามสถานที่ที่ค้นพบ คือ ทะเลสาบโมเออริส (Moeris) ประเทศอียิปต์ มันไม่ได้มีรูปร่างเหมือนช้างในปัจจุบัน มันมีขนาดตัวเล็กกว่าช้างปัจจุบันมาก ลำตัวยาวใหญ่ หางสั้น ไม่มีงวง และน่าจะดำรงชีวิต เช่นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แม้จะมีลักษณะต่างกับช้างในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง แต่สิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้ว่ามัน คือบรรพบุรุษของช้างคือกะโหลกหัวซึ่งมีโพรงอากาศเหมือนช้างในปัจจุบันและมีงาเล็กๆ ออกจากขากรรไกรล่าง นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างอื่น ๆ อีกหลายประการที่มีลักษณะคล้ายช้าง
หลังจากมีโมเออริเทอเรียมเกิดขึ้น สัตว์ในสกุลช้างก็ได้ขยายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไป แต่ลักษณะสำคัญ เช่น
วิวัฒนาการของช้าง |
กะโหลกและฟันยังคงมีอยู่ร่วมกัน ช้างยุคแรกเกือบ ทั้งหมด
มีถิ่นที่อยู่ในบริเวณทวีปแอฟริกา จนกระทั่ง26 ล้านปีก่อน
ลูกหลานของโมเออริ-เทอเรียม มีการอพยพเคลื่อนย้าย
ไปยังดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลก
จากสมัยไมโอซีน ซึ่งมีช่วงเวลาตั้งแต่ 26 จนถึง
12 ล้านปีก่อน สัตว์จำพวกช้างก็ยัง ขยายพันธุ์ออก
ไปอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ทั้ง ๆ ที่จำนวนสายพันธุ์ของ
มันเคยมีอยู่ นับร้อย แต่ค่อยๆสูญพันธ์เนื่องจากไม่
สามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้เหลืออยู่แค่ ชนิด
คือ ช้างแอฟริกาและช้างเอเชีย (มัตติกา โลกคำลือ : ม.ป.ป)
จากข้างต้นสรุปได้ว่า ช้างมีวิวัฒนาการมาจาก โมเออริเทเรียมซึ่งมีขนาดลำตัวยาวใหญ่ หางสั้น ไม่มีงวง และดำรงชีวิตเหมือนสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่าเป็นบรพบุราของช้าง ก็เพราะกะโหลกหัวซึ่งมีโพรงอากาศเหมือนช้างในปัจจุบันและมีงาเล็กๆ ออกจากขากรรไกรล่าง นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างอื่น ๆ อีกหลายประการที่มีลักษณะคล้ายช้าง นั่นเอง
2. สายพันธุ์ของช้าง
ปัจจุบันช้าง มีอยู่ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ช้างเอเชีย และ ช้างแอฟริกา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
2.1 ช้างเอเชีย (Elephas maximus )หรือเรียกว่า ช้างอินเดีย จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 3 เมตรซึ่งมีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกา รวมทั้งมีใบหูขนาดเล็กกว่า ตัวสีเทา มีน้ำหนักประมาณ 4,535 กิโลกรัม โดยงวงของช้างเอเชียจะมีเพียงจะงอยเดียว หัวเป็นโหนก มองจากด้านหน้าจะเห็นเป็น 2 ลอน ตัวผู้มีงายาวเรียก ช้างพลาย ถ้าไม่มีงาเรียกว่า ช้างสีดอ ในฤดูผสมพันธุ์มีอาการดุร้ายมาก ตัวเมียเรียกว่า ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาปรากฏให้เห็น แต่บางตัวมีงาสั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า ขนาย โผล่ออกมา (วิมล กมลตระกูล ม.ป.ป. :1 – 2)
ช้างเอเชีย แบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ย่อย ได้ดังนี้
2.1.1 ช้างศรีลังกา (Elephas maximus maximus) จะมีรูปร่างขนาดใหญ่ ตัวสีดำ ขนาดใบหู
ใหญ่และมีสีกระจายมากบริเวณใบหู ใบหน้า งวงและลำตัว มักจะเป็นช้างสีดอหรือไม่มีงา เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติเฉพาะในประเทศศรีลังกาเท่านั้น
2.1.2 ช้างอินเดีย (Elephas maximus indicus) ขนาดตัวจะเล็กกว่าช้างศรีลังกา สีตามจุดต่างๆ
จางกว่า เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติ บนผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียได้แก่ เนปาล, ภูฏาน, อินเดีย, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, ประเทศจีน และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยนั้นมีช้างเอเชียพันธุ์อินเดียกระจัดกระจายอยู่ในป่าตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ
2.1.3ช้างสุมาตรา ( Elephas maximus sumatranus) มีขนาดตัวเล็ก สีผิวจางมากที่สุด พบใน มาเลเซีย
2.1.4 ช้างบอร์เนียว (Elephas maximus borneensis) มีขนาดตัวเล็กที่สุด จนถูกเรียกว่าเป็น "ช้างแคระ" พบในตอนเหนือของเกาะบอร์เนียวใกล้กับรัฐซาบาห์และกาลิมันตันของมาเลเซีย (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. [ออนไลน์] : 2554)
2.2 ช้างแอฟริกา (Loxodonta Africana) ช้างแอฟริกา คือ ช้างที่อาศัยในทวีปแอฟริกา มีความสูงโดยเฉลี่ย 3.5 เมตร ซึ่งสูงกว่าช้างเอเชียหัวของช้างแอฟริกาจะเล็กกว่าหัวของช้างเอเชียอย่างเห็นได้ชัด มีโหนกที่หัวเพียงลอนเดียว มีน้ำหนักประมาณ 5,443 กิโลกรัม ลักษณะที่ แตกต่างจากช้างเอเชียอย่างชัดเจน อีกอย่างหนึ่ง คือ ใบหูที่ใหญ่กว่า ขอบหูด้านบนสูงกว่าระดับหัวช้าง เมื่อกางออกเต็มที่ จะเห็นว่าใบหูใหญ่มากมีรูปร่างคล้ายพัดทำหน้าที่ช่วยโบกพัดเพื่อระบายความร้อน ปลายงวงมี 2 จะงอย ช้างเแอฟริกามีงาเหมือนกันทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่มีความฉลาดน้อยกว่าช้างเอเชียและดุร้าย จึงยังไม่เคยมีผู้นำช้างแอฟริกามาฝึกเพื่อใช้งาน หรือฝึกเพื่อการแสดง นอกจากนี้ยังมีช้างแคระ (Pygmy Elephant) สูงราว 2 เมตร เป็นช้างแอฟริกาอยู่ตามลุ่มน้ำคองโก มีเหลืออยู่น้อยมาก เพราะชาวแอฟริกันมักล่าเอาเนื้อมาปรุงอาหาร ช้างแคระ ในประเทศไทยก็เคยมีอยู่ตามป่าชายทะเลสาบสงขลา เรียกว่า ช้างค่อม แต่ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว (เครือข่ายกาญจนาภิเษก.[ออนไลน์] : ม.ป.ป)
3. ชีวิตและความเป็นอยู่ของช้าง
ช้างเป็นสัตว์สังคม ตามธรรมชาติจึงมักอยู่รวมกันเป็นฝูงเรียกว่าโขลง ในโขลงหนึ่งๆจะมีช้างประมาณ 5 – 10 ตัว (ตัว เป็นลักษณะนามใช้กับช้างป่า ส่วนช้างบ้านใช้เชือก) ในแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์อาจพบว่าโขลงหนึ่งมีช้าง 30 - 50 ตัว แต่ละโคลงจะมีจ่าโขลง ซึ่งมักเป็นช้างเพศเมียที่มีอายุมากเรียกว่า แม่แปรก มีหน้าที่ปกป้องอันตรายให้แก่ช้างในโขลงไปในที่ปลอดภัยและแหล่งอาหาร ในโขลงจะมีช้างเพศเมียที่โตเต็มวัย 2 - 3 ตัว มีลูกช้างเล็กๆรวมกลุ่มกับแม่และช้างตัวเมียอื่นๆ ส่วนช้างตัวผู้ที่โตเต็มวัยจะถูกขับไล่ออกจากโขลงไปจับกลุ่มชั่วคราวกับช้างพลายตัวอื่นๆเพราะธรรมชาติไม่ต้องการให้มีการผสมพันธุ์ในเครือญาติ โดยปกติช้างมีอายุประมาณ 60 – 70 ปีแต่บางเชือกก็มีอายุมากกว่านี้ หากได้รับการดูแลจากควาญช้าง
ช้างพร้อมผสมพันธ์ได้เมื่ออายุ 9 - 12 ปี ช้างผสมพันธุ์ไม่เลือกฤดู แม่ช้างจะตั้งท้อง 21 - 22 และตกลูกครั้งละ 1 ตัว โดยธรรมชาติ เมื่อแม่ช้างจะตกลูก แม่ช้างก็จะหาช้างพังสนิทมาคอยช่วยเหลือเวลาตกลูก ช้างที่ช่วยนี้เรียกว่า แม่รับ ช้างคลอดใหม่จะมีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม สูงประมาณ 75 เซนติเมตร ลูกช้างจะอย่านมเมื่ออายุประมาณ 3 – 4 ปี แม่ช้างรักลูกมาก มักใช้งวงลูบไล้ลูก เฝ้าดูแลอันตรายอย่างใกล้ชิด แต่ถ้าหากลูกช้างดื้อจะถูกลงโทษด้วยการใช้งวงฟาด แม้ว่าจะไม่ใช่ลูกช้างของตนเองและยอมให้แม่ช้างตัวอื่นลงโทษลูกตนเองด้วย (อลงกรณ์ มหรรณพและคณะ 2551 : 21 - 23)
ช้างเป็นสัตว์ไม่กินเนื้อ อาหารส่วนใหญ่ได้แก่ต้นไม้ใบหญ้า กินอาหารคิดเป็นน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัมต่อวัน อาหารของมันได้แก่ หญ้า เช่น หญ้าคา อ้อ หญ้าแพรก หญ้าปากควาย ไม้ไผ่ เช่น หน่อไม้ ไผ่ข้าวหลาม เถาวัลย์ เช่น บอระเพ็ด ส้มป่อย ไม้ยืนต้น เช่น กล้วย อ้อย ขนุน มะพร้าว พืชไร่ เช่น ข้าวโพด สับปะรด ฟัก แตงโม มะละกอ ดินโป่ง ช้างจะกินดินโป่งเป็นบางเวลา ดินโป่งประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โปแตสเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม (เครือข่ายกาญจนาภิเษก, [ออนไลน์] : ม.ป.ป )
ช้างจะพักผ่อนด้วยการยืนหลับ หรือยืนพิงต้นไม้โดยโบกหูเป็นจังหวะๆพร้อมทั้งโบกหางไปมา ถ้านอนหลับจะล้มตัวลงนอนตะแคงซ้ายหรือ ตะแคงขวา ใช้เวลาประมาณวันละ 3 – 4 ชั่วโมง มันมีการหาวและกรนเหมือนคน ช้างเป็นสัตว์ที่จะชอบน้ำมากเพราะไม่ชอบอากาศร้อน มันต้องอาบน้ำทุกวันเพื่อให้สดชื่นและมันสามารถว่ายน้ำได้ดี เพราะในลำไส้มีแก๊สสะสมอยู่ภายในทำให้ส่วนท้องป่องคล้ายพองลมซึ่งช่วยพยุงตัวโดยจะชูงวงขึ้นเหนือน้ำเพื่อหายใจ (อลงกรณ์ มหรรณพและคณะ 2551 : 27)
สรุปได้ว่า ช้างเป็นสัตว์สังคมชอบอยู่รวมกันเป็นโขลง แต่ละโคลงจะมีจ่าโขลง ซึ่งมักเป็นช้างเพศเมียที่มีอายุมากเรียกว่า แม่แปรก มีหน้าที่ปกป้องอันตรายให้แก่ช้างในโขลงไปในที่ปลอดภัยและแหล่งอาหาร ช้างผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 9 - 12 ปี โดยแม่ช้างจะตั้งท้อง 21 - 22 และตกลูกครั้งละ 1 ตัวเท่านั้น ช้างเป็นสัตว์ไม่กินเนื้อ อาหารส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ใบหญ้า และจะกินดินโป่งเป็นบางเวลา
4. ช้างกับประวัติศาสตร์ไทย
ช้าง เป็นสัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงไว้ใช้งานประเภทต่าง ๆ มาแต่โบราณ เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองคู่บุญบารมีพระมหากษัตริย์ มีบทบาทในวิถีชีวิตกับคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณ คนไทยคุ้นเคยกับช้างและนำช้างมาฝึกช่วยงาน เช่น ใช้เป็นพาหนะ ลากซุง หรือแม้แต่ในการสงคราม คนไทยจะนับถือช้างเป็นสัตว์ชั้นสูง โดยจะปรากฏเป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ธงรูปช้าง ตำราคชลักษณ์ เป็นต้น ช้างถูกใช้ในประเพณีต่าง ๆ รวมทั้งเป็นราชพาหนะและ สิ่งประดับบารมีของพระมหากษัตริย์โดยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดที่มีช้างเผือกไว้ในครอบครอง ถือว่าเป็นกษัตริย์ที่มีบุญบารมี (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.[ออนไลน์] : 2554)
ช้างในการศึกและสงคราม ในสมัยโบราณช้างเป็นยุทธปัจจัยของกองทัพ เปรียบได้กับรถถังในปัจจุบันที่จะเข้าต่อสู้ประจัญบานกับข้าศึก เพื่อให้ได้ชัยชนะอย่างงดงาม พระเจ้าแผ่นดินหรือแม่ทัพที่ทำศึกถืออาวุธ คือ ง้าวขึ้นช้างคนละเชือกกันเข้าต่อสู้กัน ช้างต่อช้างจะเข้าชนกัน แม่ทัพก็จะจ้วงฟันคู่ต่อสู้ด้วยของ้าวด้วยกำลังแรง ช้างของฝ่ายใดมีกำลังมากกว่าและมีแม่ทัพฝีมือเข้มแข็งก็จะได้ชัยชนะไป (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ 2537 : 20)
ช้างปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานครั้งแรกในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงทำยุทธหัตถี มีชัยชนะต่อขุนสามชน ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เกิดการทำยุทธหัตถีในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิในปี พ.ศ. 2091 ครั้งนั้นเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้สมเด็จพระสุริโยทัยสวรรคต การทำยุทธหัตถีครั้งที่สำคัญ คือ สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดี เมื่อปี พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ พระมหาอุปราชาทรงช้างนามว่า พลายพัทธกอ พลายพัทธกอเข้าชน
เจ้าพระยา ไชยานุภาพเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด
จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวรทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูก พระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะเวลาอีกยาวนาน(สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ 2537 : 20 – 22)
ประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่มีประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยในบางประเพณี หรือ พระราชพิธีต่างๆนี้ก็ได้มีการนำช้างเข้ามาประกอบพิธีเพื่อเป็นมิ่งมงคล ในประเพณีของไทยแต่เดิมช้างเผือกเป็นช้างที่สำคัญในงานพระราชพิธี ได้แก่ งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา และงานพระราชพิธีฉัตรมงคล การนำช้างเผือกขึ้นยืน ที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบ เกียรติยศจะต้องแต่งเครื่องคชาภรณ์ ในรัชกาลที่ 3 ได้มีการปรากฏถึงการนำช้างพระที่นั่งยืนแท่นในการรับแขกเมืองไว้ในพระราชพงศาวดารดาวกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้น ช้างที่นำมาใช้งานในพระราชพิธีนี้จะต้องมีการสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญก่อน (สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง : 2551)
อิทธิพลของช้างที่มีชีวิตของคนไทยทำให้ปรากฏช้างในสิ่งต่างๆ ที่สำคัญมากมาย เช่น ธงช้างเผือก ซึ่งเป็น ธงของชาติไทยในอดีต เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก พระราชลัญจกรรูปช้างตราแผ่นดินในอดีต เหรียญที่ระลึก เหรียญกษาปณ์ ธนบัตรที่มีรูปช้าง ภาพจิตรกรรม ตราประจำจังหวัดต่างๆ ที่มีรูปช้าง เป็นต้น (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์. 2537 : 234)
เจ้าพระยา ไชยานุภาพเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด
จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวรทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูก พระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะเวลาอีกยาวนาน(สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ 2537 : 20 – 22)
ประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่มีประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยในบางประเพณี หรือ พระราชพิธีต่างๆนี้ก็ได้มีการนำช้างเข้ามาประกอบพิธีเพื่อเป็นมิ่งมงคล ในประเพณีของไทยแต่เดิมช้างเผือกเป็นช้างที่สำคัญในงานพระราชพิธี ได้แก่ งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา และงานพระราชพิธีฉัตรมงคล การนำช้างเผือกขึ้นยืน ที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบ เกียรติยศจะต้องแต่งเครื่องคชาภรณ์ ในรัชกาลที่ 3 ได้มีการปรากฏถึงการนำช้างพระที่นั่งยืนแท่นในการรับแขกเมืองไว้ในพระราชพงศาวดารดาวกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้น ช้างที่นำมาใช้งานในพระราชพิธีนี้จะต้องมีการสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญก่อน (สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง : 2551)
อิทธิพลของช้างที่มีชีวิตของคนไทยทำให้ปรากฏช้างในสิ่งต่างๆ ที่สำคัญมากมาย เช่น ธงช้างเผือก ซึ่งเป็น ธงของชาติไทยในอดีต เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก พระราชลัญจกรรูปช้างตราแผ่นดินในอดีต เหรียญที่ระลึก เหรียญกษาปณ์ ธนบัตรที่มีรูปช้าง ภาพจิตรกรรม ตราประจำจังหวัดต่างๆ ที่มีรูปช้าง เป็นต้น (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์. 2537 : 234)
ธงช้างเผือก |
ตราแผ่นดินรัชกาลที่5 |
ดวงตราไปรษณียากร |
ช้าง มีวิวัฒนาการมานาน จากบรรพบุรุษที่ตัวเล็กกลายมาเป็นช้างตัวใหญ่ในปัจจุบัน มีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เป็นสังคมของช้าง มีความฉลาด อดทน เป็นพาหนะใช้ในการคมนาคมในอดีต ใช้ในการทำสงครามยุทธหัตถีในอดีตซึ่งมีส่วนทำให้ประเทศไทยคงความเป็นชาติไทยจนถึงทุกวันนี้ ช้างจึงมีบุญคุณและเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย แต่ปัจจุบันช้างมีปริมาณลดลงมีเหลืออยู่ประมาณ 5,000 ตัว เนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่าและการล่าช้างเอางา เราจึงควรร่วมกันอนุรักษ์และปกป้องช้างเช่น การไม่ล่าช้างป่า จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้าง เพื่อให้ช้างคงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น